ตารางทฤษฎีพัฒนาการ

ตารางแสดงทฤษฎีพัฒนาการ


ที่
ทฤษฎี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
ลำดับขั้น
ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ฟรอยด์
พัฒนาบุคลิกภาพ
       ทฤษฎีของฟรอยด์จะเน้นในเรื่องสรีระและช่วง Criticle period เป็นช่วงปีแรก เริ่มตั้งแต่อายุ 0-6 ปี ซึ่งเป็นฐานของพัฒนาการที่แสดงออกผ่านบุคลิกภาพตอนเป็นผู้ใหญ่เนื่องจากผู้ใหญ่จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับช่วงแรกของอายุหรือช่วง Criticle period ถ้าตอนเป็นผู้ใหญ่ไม่ดีฟรอยด์ก็จะย้อนดูพัฒนาการช่วงแรกของอายุว่ามีปมด้อยในเรื่องใดจึงแสดงออกบุคลิกภาพออกมาเช่นนั้น
ช่วงCriticleperiod 
ได้แก่
      1.ขั้นปาก( 0-2 ปี )  
เช่น เด็กชอบดูดนม เมื่อให้มากหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดปมด้อย ( Fixation ) ตอนเป็นผู้ใหญ่อาจสูบบุหรี่ หรือ พูดมากเป็นต้น
          2. ขั้นทวาร
เช่น เมื่อเด็กอุจจาระ แม่ไม่สอนให้ไปอุจจาระในห้องน้ำก็จะเกิดเป็นปมด้อย             
( Fixation ) ตอนเป็นผู้ใหญ่อาจกลายเป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัย
      3. ขั้นเพศ ( 3-6  ปี )
เช่น เด็กในช่วงนี้เป็นคนชอบสงสัยและเลียนแบบ เมื่อเกิดความสงสัยก็จะถามแม่ แต่ถ้าแม่ไม่ตอบก็จะส่งผลให้เด็กเกิดความสับสนและเกิดปมด้อย ( Fixation ) เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นตุด เกย์ และทอม ก็ได้
ฟรอยด์แบ่งระดับบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น
           1. ขั้นปาก ( แรกเกิด-1ปี )
เช่น พึงพอใจในการดูดนมแม่ ดูดนิ้ว
           2. ขั้นทวารหนัก ( 1-3 ปี )
เช่นเมื่อเด็กอุจจาระ เมื่อแม่ไปไปชำระล้างหรือทำความสะอาดทันทีทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ เป็นต้น
           3. ขั้นอวัยวะเพศ ( 3-5 ปี )
เช่น มักจะจับต้อง ลูบ คลำอวัยวะเพศ
           4. ขั้นแฝง ( 6-11 ปี )
เช่น เด็กผู้ชายมักจับกลุ่มเล่นกับเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิงก็มักจะจับกลุ่มเล่นกับเด็กผู้หญิงด้วยกัน
           5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลายหรือวัยรุ่น ( 12 ปี ) ขึ้นไป
เช่น สนใจเพศตรงข้าม
      เราสามารถดูพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากพฤติกรรม เมื่อมีพัฒนาการไม่สมกับวัยก็ควรพิจารณาว่าเด็กขาดความความพึงพอใจในขั้นใด และสามารถที่จะช่วยให้มีพัฒนาการที่ตามวัย ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย โดยมีคุณครูเป็นผู้จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
2
อิริคสัน
พัฒนาบุคลิกภาพ
       ทฤษฎีของอิริคสันจะเน้นในเรื่องจิตสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา อิริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นรากฐานเบื้องต้นและวัยต่อๆมาก็สร้างมาจากรากฐานวัยนี้
        ตัวอย่างเช่น ต้นไม้หนึ่งต้นถ้ารากของต้นไม้ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถที่จะพยุงลำต้นให้ยืนได้และไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าต้นไม้ต้นนั้นขาดรากที่มีความแข็งแรงที่สามารถยึดเกาะกับดินได้
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น
     ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ-ความมาไว้วางใจ ( 0-1 ปี )
      ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตังเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง ( 2-3 ปี )
     ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด ( 4-5 ปี )
     ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ-ความรู้สึกด้อย ( 6-11 ปี )
     ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์-การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม ( 12- 18 ปี )
     ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพันความอ้างว้างตัวคนเดียว ( 20-35 ปี )
     ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงขนรุ่นหลัง-ความคิดถึงแต่ตนเอง/วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง     ( 36-45 ปี )
     ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง-ความสิ้นหวังและความไม่พอใจตนเองวัยชรา  ( 45 ปีขึ้นไป )
ระดับอนุบาล
      การส่งเสริมให้เกิด Autonomy ในระดับอนุบาลควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เทดลองทำสิ่งต่างๆอย่างอิสระ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก แต่คอยให้ความช่วยเหลือแนะนำอยู่ห่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดคลางแคลงในความสามารถของตน
ระดับประถมศึกษา
      การส่งเสริมให้เกิด Industry เด็กวันนี้อาจจะพัฒนาความรู้สึกต่ำต่อยความรู้สึกว่าตนเองสู้เพื่อนๆไม่ได้ ถ้าครูไม่ทราบวิธีที่จะช่วยเหลือสิ่งสำคัญที่จะต้องระวังสำหรับเด็กวันนี้ คือ พยายามหลีกเหลี่ยงการให้งานทำชนิดมีการแข่งขัน การเปรียบเทียบระดับความสามารถ
ระดับมัธยมศึกษา
      การส่งเสริมให้เกิด Identityนั้นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องพิจารณา คือ เป็นการสมควรหรือไม่ถ้าจะสอนบทบาททางเพศที่เหมาะสมให้กับเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมเพื่อให้เด็กสามารถแสวงหาบทบาททางเพศ( Sexual identity ) ของตนเองได้
3
โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
งานพัฒนาการตามวัย
      การพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียวสังคมและวัฒนธรรมและปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  
ดังนั้นฮาร์วิกเฮิร์สได้สรุปว่า ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง คือ วุฒิภาวะทางร่างกาย ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่ ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัว และความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยา
             ลำดับขั้นของงานพัฒนาการของฮาร์วิกเฮิร์ส (Task Development )    
ได้แบ่งตามวัยต่างๆ ได้ดังนี้
1.วัยทารกและวัยเด็กระยะต้น    
( แรกเกิด 6 ปี )
     -เรียนรู้ที่จะเดิน
    -เรียนรู้ที่จะรับประทานอาหาร
     -เรียนรู้ที่จะพูด
    -เรียนรู้ที่จะควบคุมการขับถ่าย   เป็นต้น
2.วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )
    -เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะด้านร่างกายในการเล่นเกมส์ต่างๆ
    -เรียนรู้ที่จะปรับตัวได้เข้ากันกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
    -เรียนรู้บทบาททางสังคมที่เหมาะสมของเพศหญิงและชาย
    -พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม จรรยา ค่านิยม
    -สามารถช่วยเหลือตนเองได้
3.วัยรุ่นตอนต้นและตอนปลาย
( 12-18 ปี )
     -สามารถแสดงบทบาทสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
     -ยอมรับสภาพร่างกายของตนเองสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้
     -รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
     -มีการเลือกและเตรียมตัวเพื่ออาชีพ
     -มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและมีครอบครัว
4.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น   ( 18-35 ปี )
     -มีการเลือกคู่ครอง
    -เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน
     -เริ่มต้นสร้างครอบครัว
     -เริ่มต้นประกอบอาชีพ
     -รู้จักหน้าที่ของพลเมืองดี
5.วัยกลางคน ( 35-60 ปี )
     -บรรลุวัยผู้ใหญ่ การเป็นพลเมืองดีตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม
     -สร้างหลักฐาน ฐานะเศรษฐกิจเกิดเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
     -รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
     -สามารถปรับตัวและทะความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองได้
6.วัยชรา ( 60 ปีขึ้นไป )
     -สามารถปรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
     -ปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง
     -สามารถสร้างสัมพันธ์กับคนในวัยเดียวกันได้
     ระดับอนุบาล
1.มีความคิดรวบยอดง่ายเกี่ยวกับความจริงทางสังคมและทางกายภาพซึ่งหมายถึงการที่เด็กมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เช่น พ่อ แม่ โรงเรียน ครูเป็นต้น
2.ครูควรพยายามทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อเด็ดจะได้เลียนแบบ
3.เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิดที่ถูก ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้อภิปรายและวิเคราะห์เกี่ยวกับการกระทำต่างๆ
  ระดับประถมศึกษา
1.เด็กจำเป็นต้องมีทักษะในการเล่น ถ้าครูพบว่าเด็กบางคนขาดทักษะในการเล่น ครูจะต้องมีการกระตุ้นให้กำลังใจและจะต้องสอน
2.ครูควรจะเน้นให้เด็กเห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาด
3.ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการกระทำต่างๆด้วยตนเองแทนที่ครูจะเป็นผู้บอกหรือเป็นผู้ตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด
     ระดับมัธยม
1.เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆในชั้นเรียน ครูควรให้ความขช่วยเหลือเป็นพิเศษกับเด็กที่ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้
2.รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
3.ครูควรกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทั้งในโรงเรียนและในสังคม
4
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรม
     ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์เป็นไปตามลำดับขั้นและขึ้นกับวัย คล้ายคลึงกับพัฒนาการทางสติปัญญา เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่สิ่งแวดล้อม
 ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม
ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์สังคม
ตัวอย่าง น้องมินกำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 เขามีน้ำใจแบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่นด้วย คุณครูจึงมอบรางวัลและให้คำชมเชย น้องมินดีใจมากที่ได้รางวัลและเขาได้คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูก จึงอยากทำมันอีกเพื่อหวังรางวัล
         น้องชมแย่งของเล่นกับเพื่อน คุณครูเลยทำโทษโดยการแยกน้องชมให้อยู่คนเดียวน้องชมก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่ตนทำเป็นสิ่งที่ผิดและเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้นเพราะกลัวโดนทำโทษ
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามเกณฑ์สังคม
ตังอย่าง ชามินมีงานค้างต้องทำส่งคุณครูพรุ่งนี้ แต่เพื่อนชวนชามินไปเที่ยวชามินตัดสินใจทิ้งงานแล้วไปเที่ยวกับเพื่อนๆเพื่อรักษาสัมพันธภาพและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมเหนือเกณฑ์สังคม
ตัวอย่าง น้องไอติมกำลังเดินไปซื้อของบังเอิญว่าเจอคุณยายคนหนึ่งกำลังจะข้ามถนนเธอเลยเข้าไปชวยคุณยายข้ามถนนโดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน แต่เธอกลับมีความสุขและภูมิใจในตัวเองที่สามมารถช่วยคุณยายข้ามถนนได้
     ห้องเรียนทุกห้องจำเป็นจะต้องมีระเบียบกฏเกณฑ์ที่นักเรียนทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียนถ้าครูอธิบายเหตุผลของการมีกฎเกณฑ์และพยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนระเบียบกฎเกณฑ์ของห้องแทนการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของทาโรงเรียน


5
เพียเจท์
พัฒนาการทางสติปัญญา
      คือการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เพราะ สติปัญญาจะเกิดขึ้นได้นักเรียนจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การจัดห้องเรียนจึงจำเป็นต้องจัดให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม
   การจัดและรวบรวม หมายถึง การจัดและรวบรวมกรบวการต่างๆภายในเข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่องกัน เป็นระเบียบ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
การปรับตัว 
หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุลการปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ
1.การซึมซับหรือการดูดซึม(Assimilation ) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราวและข้อมูลต่างๆเข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ตัวอย่าง น้องดารู้จักนกแก้ว น้องดาเลยเข้าใจว่าสัตว์ทุกตัวที่ขึ้นต้นคำว่านกจะสามารถบินได้
2.การปรับตัวและจัดระบบ ( Accommodation ) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่เข้าด้วยกันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาใหม่ขึ้น
ตัวอย่าง จากเดิมน้องดาคิดว่าสัตว์ที่มีชื่อขึ้นต้นคำว่านกสามารถบินได้ทุกตัว แต่วันนี้คุณครูได้สอนในเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ปีกและสัตว์หนึ่งในนั้นก็มีชื่อว่านกกระจอดเทศ คุณครูได้อธิบายลักษณะโชว์รูปและบอกว่านกชนิดนี้บินไม่ได้ เพราะมีลักษณะลำตัวที่ใหญ่จึงมีปีกไว้ทรงตัวเท่านั้น ทำให้น้องดามีความรู้ใหม่ขึ้นและทราบว่าสัตว์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่านกไม่สามารถบินได้เสมอไป
1.หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
-เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
-เสนอการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
-เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบเป็นต้น
2.การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
-ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
-ครูสอนควรจะพุดให้น้อยลงและฟังให้มากขึ้น
-ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่างๆเป็นต้น
3.ในขั้นประเมิน ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
-มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
-พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตั้งคำถามนั้นๆ
-ต้องช่วยเหลือนักเรียนที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
6
 เจโรม บรูเนอร์
การเรียนรู้โดยการค้นพบ
การสอแบบ Discovery Learning Process : DLP ความหมาย วิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส. คือ กระบวนการสอนที่ครูใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการนำตัวอย่าง ข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ สถานการณ์ ปัญหาหรือความคิดรวบยอด ข้อสรุป กฎเกณฑ์มาให้ผู้เรียนใช้ทักษะ สงสัย สังเกต สัมผัส สำรวจ สืบค้น สั่งสม และสรุปผล ในการค้นคว้าหาข้อสรุปหรือหาหลักการ แนวคิดด้วยตนเอง
ตัวอย่าง  การสอนแบบ Discovery Learning Process : DLP
         ครูถามนักเรียนว่าผลไม้ฤดูร้อนมีอะไรบ้าง ให้นักเรียนเกิดความสงสัยและเกิดความอยากรู้
         หลังโรงเรียนมีสวนผลไม้พอดี ครูจึงพานักเรียนไปสำรวจว่ามีผลไม้ใดบ้างที่ออกผลในฤดูร้อน
       หลังจากพานักเรียนไปดูสวนหลังโรงเรียนแล้วครูให้นักเรียนกลับไปดูที่บ้านหรือในชุมชนต่อว่ามีผลไม้ใดบ้าง
        นักเรียนก็ได้รวบรวมรายชื่อผลไม้และตอบคุณครูว่าผลไม้ฤดูร้อนมี มะม่วง ขนุน ทุเรียน แตงโม
บรูเนอร์ได้เสนอแนวคิดเชิงทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดไว้ว่ามี 3 ลักษณะ
1.       Enactive representation 
ขั้นแสดงความคิดด้วยการกระทำ    เด็กจะแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่างๆเพื่อแสดงให้รู้ว่าเขาเข้าใจอะไร
2.       Iconic representation
ขั้นการคิดจากสิ่งที่มองเห็น   พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆเด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆด้วยการมีภาพแทนในใจ
3.       Symbolic representation
ขั้นการคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา   พัฒนาการทางการคิดในช่วงนี้ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆโดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิดขั้นนี้เป็นขั้นที่ บรูเนอร์ถือว่าเป็นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ เด็กสามารถคิดหาเหตุผล   และในที่สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ และสามารถแก้ปัญหาได้
1.กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2.การวิเคราะห์และการจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนการสอน
3.ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
4.การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
5.การความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
6.การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น