วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โรเบิร์ต เจ. ฮาร์วิกเฮิร์ส


ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาร์วิกเฮิร์ส

 




แนวความคิดของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์สได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี

1. วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)




ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ  ดังนี้
                - การเรียนรู้ทางด้านร่างกาย เช่น การยกศีรษะ คลาน การทรงตัว การเดิน
               - การเรียนรู้ทางด้านการรับประทานอาหาร
               - การเรียนรู้ทางด้านการเปล่งเสียง การพูด
                - การเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมการขับถ่าย
                - เริ่มมีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคม และทางกายภาพ
                - เริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ผิด-ถูก และเริ่มพัฒนาทางจริยธรรม

2. วัยเด็กตอนกลาง (6-12 ปี)




ในวัยนี้จะมีงานที่สำคัญ ดังนี้
                - พัฒนาทักษะทางด้านกายภาพ
                - เรียนรู้ที่จะแสดงบทบาทให้เหมาะสมกับเพศของตนเอง
                - พัฒนาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
                - พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรม ค่านิยม เพื่อเตรียมพร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3. วัยรุ่น (12-18 ปี)




พัฒนาการที่สำคัญของบุคคลในวัยนี้ คือ
         - พัฒนาความคิดรวบยอดและทักษะในการแก้ปัญหา
         - สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศได้
         - พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี) 

  


ในวัยนี้จะมีลักษณะที่สำคัญ  ดังนี้
             - เริ่มต้นประกอบอาชีพ
             - เริ่มสร้างครอบครัวของตนเอง
             - เรียนรู้ที่จะมีชีวิตร่วมกับคู่แต่งงาน

  5. วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง / วัยกลางคน(35-60 ปี)


 


งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
               - มีความรับผิดชอบต่อสังคม
               - มีความพยายามในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
               - รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น
               - สามารถปรับตัวและทำความเข้าใจคู่ชีวิตของตนเองให้ได้

6. วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย / วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)

  


งานที่สำคัญในวัยนี้ คือ
                - สามารถปรับตัวกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
               - สามารถปรับตัวได้กับการเกษียณอายุการทำงาน

               - สามารถปรับตัวได้กับการตายจากของคู่ครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น