วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เพียเจต์



ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 




       จอห์น เพียเจต์ เป็นผู้สร้างทฤษฎีเชาวน์ปัญญา ทฤษฏีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียน เห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์
        เพียเจต์ (PIAGET) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้พัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม 

ทฤษฎีการเรียนรู้

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)

            ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น

ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว มีระยะพัฒนาการ 6 ขั้นคือ                     

 ขั้นที่ 1 Reflex Activity มีอายุแรกเกิด-1เดือน 

           ขั้นนี้ เด็กอาศัยปฏิกิริยาสะท้อนทาง ร่างกาย คือ การดูด การกลืน การร้องไห้ การจับฉวย รวมทั้งการเคลื่อนไหวของแขน ลําตัว หรือศีรษะ ระยะแรกคลอด เมื่อเด็กได้รับการเร้าจากสิ่งเร้าต่างๆ ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็ก จะเกิดขึ้ นทันที โดยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างวัตถุได้ จนกระทั่งอายุ 2-3สัปดาห์ เด็กสามารถแยกและมองวัตถุที่เหมือนและแตกต่างได้ สามารถหาวัตถุที่คุ้นเคย เช่น หัวนมได้ แสดงว่า โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กจะเริ่มปรากฏขึ้ นโดยอาศัย ปฏิกิริยา สะท้อนนั้นเอง

ขั้นที่ 2 First Differentiations มีอายุ 1-4 เดือน

             ในขั้นนี้ เด็กเกิดมีพฤติกรรมใหม่แทน ปฏิกิริยาสะท้อน ซึ่ง เป็นผลของการทํางานที่ประสานกันของอวัยวะร่างกาย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับปาก เช่น การดูดนิ้วจนเป็นนิสัย การทํางานประสานกันระหว่าง ตากับหู เช่น เด็กย้ายศีรษะและมองตามวัตถุที่กําลังเคลื่อนไหวมีเสียงดัง ลักษณะพฤติกรรม ที่ปรากฏนี้ จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า เด็กสามารถแยกแยะความแตกต่างๆของวัตถุได้ รู้จักการ ปฏิเสธที่จะดูดนมเมื่อไม่ต้องการหรืออิ่มแล้ว

ขั้นที่ 3 Reproduction of Interesting Events มีอายุ 4-8 เดือน 

          ความสามารถทาง ร่างกายของเด็กได้เพิ่มมากขึ้น เด็กสามารถจับฉวยและกระทํากับวัตถุต่างๆได้ด้วยความตั้งใจ สามารถทํางานประสานสัมพันธ์กันระหว่างการ เคลื่อนไหวของสายตาและมือ โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ เคยทํามาแล้วจะทําซํ้าได้อีกครั้งหนึ่ง เช่น เด็กจับสาย ระโยงระยางเหนือศีรษะแล้วเกิดเสียงดัง เด็กมักจะ ทําซํ้าอีกครั้งเพื่อให้เกิดเสียงดัง ขั้นนี้ จัดว่าเป็นการ สัมผัสและการมองเห็นสิ่งต่างๆอย่างจงใจหรือตั้งใจ

ขั้นที่ 4 Coordination of Schemata มาอายุ 8-12 เดือน 

          ขั้นนี้ เด็กมีพฤติกรรมการ กระทําตามความสามารถทางด้านสติปัญญาของเด็กแต่ละคน คือ เด็กเริ่มใช้สื่อเพื่อให้บรรลุ เป้ าหมายที่ต้องการ มีการคาดหมายเหตุการณ์ รู้จักค้นหาวัตถุที่หายไป อายุ 8-9 เดือน 13 เด็กเริ่มมองเห็นวัตถุในลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวและมีการเปลี่ยนแปลง มองวัตถุเพียงด้าน เดียว มองเห็นความสัมพันธ์ของวัตถุอย่างง่ายและเป็ นสิ่งที่ตนคุ้นเคยได้ เช่น เด็กสามารถดูด ขวดนมได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าจะส่งขวดนมให้เด็กในลักษณะที่ไม่ถูกต้องก็ตาม ขั้นนี้ เด็กมีการ ทํางานในสิ่งที่คุ้นเคยได้ดีและนําสิ่งที่ตนคุ้นเคยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในการ พัฒนาการขั้นต่อไป

ขั้นที่ 5 Invention of New Means มีอายุ 12-18 เดือน 

           ขั้นนี้ เด็กเริ่มต้นแสวงหา ปัญหาใหม่ๆและใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการทดลองซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่คุ้นเคยอีกต่อไป เช่น ถ้า ซ่อนตุ๊กตาไปไว้ที่จัดหนึ่ง เด็กจะค้นหาที่จุดนั้น แต่ถ้าย้ายตุ๊กตาตัวนั้นไปซ่อนที่จุดอื่น เด็กก็ สามารถค้นหาที่จุดนั้นได้อย่างถูกต้อง

 ขั้นที่ 6 Representation มีอายุ 18-24 เดือน 

           ขั้นนี้ความสามารถคิดในขั้นประสาท สัมผัสและการเคลื่อนไหวได้เปลี่ยนเป็นสามารถคิดตามหลักตรรกศาสตร์ได้ เด็กเริ่มจดจํา และสะสมสิ่งที่เรียนรู้ไว้เพิ่มมากขึ้น ทําให้เด็กสามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะง่ายๆได้อย่าง ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) 

ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ 

    2.1ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought)   

           เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก 

    2.2ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) 

              เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

3.ปขั้นฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี

          พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี

4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี 

            ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต 

  เพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6ขั้น ได้แก่ 

1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

1.การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) 

          เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ

        กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น

3.การเกิดความสมดุล (equilibration)

             เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
         · นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
 
            · ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
 
           · หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
      -เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
      -เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
      -เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
      -เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
     -ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
 
            · การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
      -ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
      -ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
      -ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
      -เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
      -ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
      - ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
      -ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
      -ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
            · ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
         -มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
         -พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
         -ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น