วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เกสตัลท์

หลักการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์






            กลุ่มเกสตัลท์กล่าวว่า การเรียนรู้ที่เห็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยนั้นจะต้องเกิด จากประสบการณ์เดิม และการเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น 2 ลักษณะคือ 
การรับรู้ (Perception) 

            การรับรู้หมายถึงการแปลความหมายหรือการตีความต่อสิ่งเร้าของ อวัยวะรับสัมผัสส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือทั้งห้าส่วน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง และการตีความนี้ มักอาศัย ประสบการณ์เดิมดังนั้น แต่ละคน อาจรับรู้ในสิ่งเร้าเดียวกันแตกต่างกันได้ แล้วแต่ประสบการณ์ เช่น นางสาว ก. เห็นสีแดง แล้วนึกถึงเลือดแต่นางสาว ข. เห็นสีแดงอาจนึกถึงดอกกุหลาบสีแดงก็ได้ 



            การเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ ที่เน้น"การรับรู้เป็นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย" นั้น ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของ ทั้งกลุ่ม ออกเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎการจัดระเบียบเข้าด้วยกัน (The Laws of Organization) ดังนี้

       1.       กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz)
       2.       กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
       3.       กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity)
       4.       กฏแห่งการสิ้นสุด(Law of Closure)
       5.       กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
       6.       กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
1. กฏแห่งความแน่นอนหรือชัดเจน (Law of Pragnanz) 

ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องการให้มนุษย์เกิดการรับรู้ ในสิ่งเดียวกัน ต้องกำหนดองค์ประกอบขึ้น2 ส่วน คือ

·  ภาพหรือข้อมูลที่ต้องการให้สนใจ เพื่อเกิดการเรียนรู้ในขณะนั้น (Figure)
·  ส่วนประกอบหรือพื้นฐานของการรับรู้ (Background or Ground) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ประกอบอยู่ในการเรียนรู้ นั้น ๆ แต่ผู้สอนยังมิต้องการให้ผู้เรียนสนใจในขณะนั้น ปรากฏว่า วิธีการแก้ปัญหา โดยกำหนด Figure และBackground ของเกสตัลท์ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะสามารถทำ ให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ด้วยการรับรู้อย่างเดียวกันได้ ซึ่งนักศึกษาจะได้ ทราบรายละเอียดในเรื่องทฤษฎีการเรียน รู้ของกลุ่มเกสตัลท์ในโอกาสต่อไป แต่ในที่นี้ขอเสนอพอสังเขป ดังนี้
บางครั้ง Figure อาจเปลี่ยนเป็น Ground และ Ground อาจเปลี่ยนเป็น Figure ก็ได้ ถ้าผู้สอนหรือผู้นำเสนอ เปลี่ยนสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมายเบนความสนใจไปตามที่ตนต้องการ โปรดดูภาพต่อไปนี้

                                                



      ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นนางฟ้า หรือว่า ปีศาจ  ถ้ามองสีดำเป็นภาพสีขาวเป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร แต่ถ้ามองสีสีขาวเป็นภาพสีดำ เป็นพื้น จะเห็นเป็นรูปอะไร ลองพิจารณาดู


                                                     



       ดูภาพซ้ายมือนี้ นักศึกษาเห็นว่าเป็นรูปพานหรือว่าเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน ถ้าดูสีขาวเป็นภาพ สีดำเป็นพื้นก็จะเป็นรูปพาน ถ้าดูสีดำเป็นภาพ สีขาวเป็นพื้น ก็อาจจะเห็นเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน ต่อไปลองพิจารณารูป 2 รูป ข้างล่างนี้ดูซิ


                             



           ดูภาพซ้ายมือนี้อีกที ก็คงมีความรู้สึก เช่นเดียวกับรูปที่ผ่านมา คืออาจจะเป็นรูปคน 2 คนหันหน้าเข้าหากัน หรือรูปพาน แต่ถ้าดูรูปขวามือนี้มาก่อน ก็คงไม่มีใครที่จะเห็นว่ารูปซ้ายมือเป็นรูปพาน  คงจะตอบว่าเป็นรูปคน 2 คน หันหน้าเข้าหากัน 




                                                


                         ดูภาพซ้ายมื่อนี่ซิ ว่าเป็นหญิงชรา หรือว่าหญิงสาวหลายคนบอกว่าเป็นได้ทั้งสองอย่าง







            จะเห็นได้ว่า ภาพเดียวกัน คนบางคนยังเห็นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของแต่ละคน อิทธิพลของประสบการณ์ที่มีต่อการรับรู้ภาพและพื้น การมองเห็นรูป เป็นภาพ (Figure) และพื้น (Ground) สลับกันนั้นตามทฤษฎี ของกลุ่ม เกสตัลท์ เชื่อว่า การรับรู้ในลักษณะเช่นนี้ ขึ้นยู่กับประสบการณ์ ของบุคคลเป็นสำคัญ หรือ ประสบการณ์เดิมของบุคคล มีผลต่อการรับรู้ ภาพและพื้น หรือภาพสองนัย 

ผลการทดลอง 

กลุ่มที่ 1 ที่ให้ดูเฉพาะภาพ A(ภาพสองนัย) ภาพเดียว เป็นเวลา 25 วินาที 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงสาว 60 % 
มีนักศึกษาบอกว่าเป็นภาพหญิงชรา 40 %

กลุ่มที่ 2 ที่ให้ดูภาพ C (หญิงชรา) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 

(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 95 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 5 %

กลุ่มที่ 3 ที่ให้ดูภาพ B (หญิงสาว) ก่อน เป็นเวลา 30 วินาที แล้วจึงให้ดูภาพ A 
(ภาพสองนัย) ต่ออีกเป็นเวลา 15 วินาที 

มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงสาว 100 % 
มีนักศึกษาเห็นภาพ A เป็นหญิงชรา 0 % 
2. กฏแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity)
            กฎนี้เป็นกฎที่ Max Wertheimer ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1923 โดยใช้เป็นหลักการในการวางรูปกลุ่มของการรับรู้ เช่น กลุ่มของ เส้น หรือสี ที่คล้ายคลึงกัน หมายถึงสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่คล้ายกัน คนเราจะรับรู้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน หรือพวกเดียวกัน 



    
                                        


จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่า รูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แต่ละรูป ที่มีสีเข้ม เป็นพวกเดียวกัน 

3. กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) 
            สาระสำคัญของกฎนี้ มีอยู่ว่า ถ้าสิ่งใด หรือสถานการณ์ใดที่เกิดขึ้นในเวลาต่อเนื่องกัน หรือในเวลาเดียวกัน อินทรีย์จะเรียนรู้ ว่า เป็นเหตุและผลกัน หรือ สิ่งเร้าใดๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันเป็นพวกเดียวกัน หมวดหมู่เดียวกัน 






จากภาพข้างบนนี้ เราจะเห็นว่ามีทหารเป็น 5 Columns 
(Proximity : These forty soldiers are seen as five columns because of spacing) 

4. กฏแห่งการสิ้นสุด (Law of Closure) 

            สาระสำคัญของกฎนี้มีอยู่ว่า "แม้ว่าสถานการณ์หรือปัญหายังไม่สมบูรณ์ อินทรีย์ก็จะเกิดการเรียนรู้ ได้จากประสบการณ์เดิมต่อสถานการณ์นั้น" 



ลองดูภาพต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่า ถึงแม้เส้นต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องลากไปจนสุด หรือบรรจบกัน แต่เมื่อสายตามองก็พอจะเดาได้ว่า น่าจะเป็นรูปอะไร 







                                    

ภาพต่อไปนี้ก็เช่นกัน แม้จะไม่ใช่ภาพที่เขียนขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่คนที่มีประสบการณ์เดิม ก็พอจะรู้ว่า เป็นภาพ สุนัข
                                                          


5. กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) 
            สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน 



6. กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) 
            สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพสมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น