วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 ทฤษฎีพัฒนาการ


ความหมายของพัฒนาการ

นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของคำว่าพัฒนาการ (development) ดังนี้
  • สุชา จันทร์เอม (2540 : 1) กล่าวว่าพัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลี่ยนแปลงหรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง (process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ เป็นขั้น ๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งเพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นตามลำดับ 
  • ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต (2541 : 1) ได้ให้คำจำกัดความของพัฒนาการว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านเจริญเติบโตงอกงามและถดถอย และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลรวมของวุฒิภาวะและประสบการณ์ 
  • ศรีเรือน แก้วกังวาล (2540 : 21) กล่าวว่าพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งที่สังเกตได้ง่าย ชัดเจน และมองเห็นได้ยาก ไม่ชัดเจน ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
        จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า พัฒนาการเป็นกระบวนการพัฒนาของมนุษย์ในทุก ๆ ด้านของชีวิตตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งในลักษณะของการเจริญงอกงามและการถดถอย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งนำไปสู่ความมีวุฒิภาวะ

จุดมุ่งหมายของการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์

1. เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการที่จะเข้าใจลักษณะของพัฒนาการในระยะเวลาต่างๆว่าเป็นอย่างไร และจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ตามความเหมาะสมของแต่ละอายุ ทั้งนี้เพราะว่า ในการที่เราจะเข้าใจลักษณะต่างๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างช่วยกัน เช่น ประสบการณ์ในชีวิต การได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับบุคคลต่างๆ 

2. เพื่อให้สามารปรับตัวให้เข้ากับความยากลำบากของการพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุว่ามีความแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี เช่น ในวัยชรา คนชราจะได้รับอิทธิพลและปัญหาต่างๆ หล่อหลอมบุคลิกภาพ ความรู้สึกนึกคิด มาตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับนั้นจะแตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญยิ่ง คือ ประสบการณ์ที่แต่ละคนได้รับตจะเป็นตัวหล่อหลอมให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพและความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเองและจะไม่เหมือนบุคคลอื่น ซึ่งจัดว่าการที่บุคคลมีการยอมรับและเข้าใจตนเอง(Self actualization) นั้นย่อมมีความแตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ จึงมีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆนั่นคือ

1.  เพื่อการบรรยาย (Description) ในการบรรยายนี้จะเป็นการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อให้สามารถที่จะบอกเล่ากันต่อๆไปได้ อันเป็นความรู้ และเพื่อจะได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป ซึ่งลักษณะดังกล่าว จะเป็นการบอกเล่าว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน 
2. เพื่อการอธิบาย (Explanation) เพื่อเป็นการเสาะแสวงหาความรู้และเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสิ่งที่เราไม่รู้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามอธิบาย หรือให้ความกระจ่างว่า ปรากฏการณ์นั้นเกิดได้อย่างไร มีอะไรเป็นสาเหตุ ผลที่ตามมาควรจะประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง
3.   เพื่อการทำนาย (Prediction) เป็นการพยากรณ์ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการอธิบาย ทั้งนี้เพราะ การทำนายนั้นจะเป็นการทำนายเพื่อต้องการอธิบายในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อันเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าว่า เมื่อไหร่จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วผลจะเป็นอย่างไร เวลาไหน ซึ่งการที่เราสามารถทำนายได้นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์เป็นอันมาก 
4.  เพื่อการควบคุม (Control) เป็นการที่ผู้รู้จะสามารถนำเอาความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดโดยการปรับปรุงธรรมชาติ สภาพทางสังคม และบุคคลให้อยู่ในตามแนวทางที่ตนปรารถนา การควบคุมดังกล่าวจึงนับว่ามีความสำคัญไม่น้อย


1 ความคิดเห็น:

  1. As reported by Stanford Medical, It's indeed the one and ONLY reason women in this country get to live 10 years more and weigh on average 19 kilos lighter than us.

    (And by the way, it is not about genetics or some secret-exercise and really, EVERYTHING to do with "how" they eat.)

    BTW, What I said is "HOW", and not "what"...

    Click on this link to see if this quick questionnaire can help you decipher your true weight loss possibilities

    ตอบลบ